ควบคุม Switch ประตูชัตเตอร์ ผ่าน App มือถือ Wifi

ผลงานการติดตั้ง Smart Home และระบบ IoT Internet of Things รวมรีวิว Review โดย ทีมงาน SmartHomeOK

ควบคุม Switch ประตูชัตเตอร์ ผ่าน App มือถือ Wifi
ควบคุม Switch ประตูชัตเตอร์ ผ่าน App มือถือ Wifi (กรุงเทพ สมุทรปราการ) ดูสาธิตการใช้งานที่: https://youtube.com/shorts/R7WDO9VL-U8
รั้วประตูบ้านไฟฟ้า คุมผ่านมือถือ และสั่งงานด้วยเสียง
รั้วประตูบ้านไฟฟ้า คุมผ่านมือถือ และสั่งงานด้วยเสียง (สมุทรปราการ) ดูสาธิตการใช้งานที่ https://youtu.be/JcoDuIvcvxU
เปลี่ยนห้อง Condo ให้เป็น Smart Home ดูสาธิตการใช้งานที่
เปลี่ยนห้อง Condo ให้เป็น Smart Home (อารีย์, กรุงเทพ) ดูสาธิตการใช้งานที่ https://youtu.be/-tDpEsGB33o

เปรียบเทียบ Smart Home แบบ Hybrid (Home Assistant) vs Cloud (Alexa, Google)

ในยุคที่ บ้านอัจฉริยะ (Smart Home) กำลังมาแรง หลายคนอาจสงสัยว่าควรเลือกใช้ระบบแบบไหนระหว่าง

✅ Hybrid ที่ใช้ Home Assistant กับ ☁️ Cloud ที่ใช้ Alexa หรือ Google Home โดยตรง

เรารวบรวมข้อเปรียบเทียบแบบเข้าใจง่าย พร้อมข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบให้แล้วที่นี่

Infographics เปรียบเทียบ โซลูชั่น ของ Smart Home

🤖 1. แพลตฟอร์ม (Platform)

  • Hybrid: ใช้ Home Assistant เป็นศูนย์กลาง ทำงานแบบ Add-on ยังสามารถเชื่อมต่อกับ Google Home / Alexa ได้เหมือนเดิม
  • Cloud: ใช้บริการจาก Cloud Platform โดยตรง เช่น Alexa Smart HomeGoogle AssistantApple Home

📌 ใครที่อยากลองเล่น ระบบ IOT (Internet of Things) แบบเต็มรูปแบบ ไปทาง Hybrid จะยืดหยุ่นกว่า


🗣️ 2. รองรับคำสั่งเสียง (Voice Control)

  • ทั้งสองระบบใช้ สั่งงานด้วยเสียงผ่าน Alexa และ Google Home ได้เหมือนกัน🎤 ช่วยให้ควบคุมอุปกรณ์ IOT ได้แบบแฮนด์ฟรี

🔌 3. ทำงานแบบ Offline ได้ไหม?

  • Hybrid (Home Assistant): ✅ ทำงานได้แม้ไม่มีอินเทอร์เน็ต เพราะรันระบบในบ้าน
  • Cloud: ❌ ต้องมี Internet เสมอ

🚪 บ้านที่เน็ตไม่เสถียร ระบบ Hybrid คือคำตอบที่มั่นใจได้มากกว่า


⚡ 4. ความเร็วในการสั่งงาน

  • Hybrid: ตอบสนองทันใจ เพราะไม่ต้องส่งสัญญาณ วิ่งขึ้น Cloud
  • Cloud: อาจมีดีเลย์ เพราะต้องพึ่งเซิร์ฟเวอร์ภายนอก

💡 สำหรับระบบควบคุมแสงไฟ หรือล็อคประตูอัจฉริยะ ความเร็วคือเรื่องสำคัญ


📈 5. รองรับอุปกรณ์เพิ่มเติม

  • Hybrid: รองรับอุปกรณ์หลากหลายจากหลายยี่ห้อ เช่น Zigbee, Z-Wave, Matter
  • Cloud: อุปกรณ์ต้องอยู่ใน Ecosystem เดียวกัน

🔗 ระบบ Hybrid จึงเหมาะกับสาย Custom หรือบ้านที่มีหลายอุปกรณ์ IOT จากหลายแบรนด์


🖥️ 6. มีหน้าจอ Touchscreen ควบคุมไหม?

  • Hybrid (Home Assistant Dashboard): ✅ มี UI Dashboard ที่ปรับแต่งได้ตามใจ
  • Cloud: ❌ ส่วนมากจะสั่งงานผ่านเสียง หรือใช้ App มือถือเท่านั้น

📱 สายแต่งบ้านหรือทำ Smart Home Control Panel แบบเท่ๆ ต้องไป Hybrid


🔧 7. การดูแลรักษา

  • Hybrid: ต้องเรียนรู้ มี Learning Curve เพื่อทำความเข้าใจระบบนิดนึง แต่ก็เปิดโอกาสให้แก้ไขเองได้
  • Cloud: ง่ายกว่า ติดตั้งแล้วจบเลย ไม่ต้องยุ่งเยอะ

🛠 ต้องเลือกระหว่าง คนที่ชอบควบคุมระบบทั้งหมดเอง vs คนที่ชอบ Plug & Play


🛠️ 8. การดูแลระยะไกล (Remote Support)

  • Hybrid: ในกรณีที่พบปัญหาในการใช้งาน ระบบ Hybrid รองรับการ Remote Support จากทีม SmartHomeOK
  • Cloud: ไม่ฟีเจอร์ Remote Support หากปัญหาที่ต้องแก้ไข ต้องทำ On-site จะมีค่าบริการและค่าเดินทางเพิ่มเติม

💸 9. ค่าใช้จ่าย

  • Hybrid: ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นสูงกว่า เพราะต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น Local Server และ Gateway (กินไฟน้อย พื้นที่เล็ก)
  • Cloud: ใช้งบน้อยกว่า เริ่มได้ไว

📊 ถ้าเริ่มจากงบน้อย Cloud ก็เหมาะ แต่ถ้าคิดระยะยาว Hybrid คุ้มกว่า


🔚 สรุปสั้นๆ

ถ้าคุณต้องการระบบที่เร็ว ยืดหยุ่น และปรับแต่งได้ — Hybrid (Home Assistant) คือทางเลือกที่ดีที่สุด 🎯

แต่ถ้าอยากได้อะไรที่ง่ายๆ เสียบแล้วใช้ได้เลย — Cloud (Alexa/Google Home) คือคำตอบที่ใช่ 💡


การติดตั้ง Block ไฟฝัง สำหรับ Smart Home

อยากเริ่มทำบ้านให้เป็น Smart Home แบบดูดี มีสไตล์? หนึ่งในขั้นตอนที่มักถูกมองข้ามคือการเลือกใช้ Block ไฟ (บล็อคไฟ) ที่เหมาะสม โดยเฉพาะกับการติดตั้ง Smart Switch หรือ สวิตช์ไฟอัจฉริยะ ที่ช่วยควบคุมไฟผ่านมือถือหรือเสียงได้แบบล้ำๆ แถมยังเลือกดีไซน์หน้ากากได้เอง!

Infographics อธิบาย การติดตั้ง บล็อกไฟ ไม่ควรใช้แบบตื้น แต่ควรลึก 5cm ขึ้นไป สำหรับงาน Smart Switch IoT Smart Home

✅ ทำไมต้องใช้ Smart Switch แบบแยกหน้ากาก?

“บ้านล้ำได้ แต่สไตล์ต้องเป๊ะ!”

Smart Switch ที่ใช้ร่วมกับ block switch แบบมาตรฐานจะช่วยให้:

  • 🔘 เลือกดีไซน์สวิตช์ได้เอง ไม่ต้องยึดติดกับหน้าตาแบบเดิมจากโรงงาน
  • 💡 เชื่อมต่อระบบ Smart Home ได้ เช่น Home Assistant, Alexa หรือ Google Home
  • 🛠️ ติดตั้งง่าย แค่มีพื้นที่หลังสวิตช์พอ ก็เสียบโมดูลเข้าไปได้เลย

⚡ สำคัญ! ต้องมีสาย Neutral (N) ที่จุดสวิตช์

“หากไม่มีสาย N จะทำให้การติดตั้ง Smart Switch มีความยากลำบากมากขึ้น”

Smart Switch ส่วนใหญ่ต้องใช้ไฟทั้ง L (Line) และ N (Neutral) เพื่อให้วงจรทำงานได้ตลอดเวลา แต่โดยทั่วไป 🧑‍🔧 ช่างไฟมักจะไม่ลากสาย N มาที่จุดสวิตช์ เพราะระบบไฟส่องสว่างในบ้านทั่วไป ใช้แค่สาย L เข้าสวิตช์ → ไปโคมไฟเท่านั้น

📌 ดังนั้น ถ้าคุณมีแผนติด Smart Switch:

  • ต้อง แจ้งช่างให้ลากสาย N มาที่ block ฝังด้วย
  • ถ้าเป็นบ้านหรือคอนโดใหม่ แนะนำให้ระบุตั้งแต่ตอนเดินระบบไฟ

🧰 การเตรียม block ฝัง: ต้อง “ลึก” ไว้ก่อน

ไม่ควรใช้ Block ตื้น สำหรับการวางแผนติดตั้ง Smart Switch

ควรใช้ Block ไฟ ที่มีความลึก 5cm ขึ้นไป

การติดตั้ง Smart Switch ที่มีโมดูลควบคุม ต้องใช้ block ฝังแบบลึกอย่างน้อย 5 ซม. เพื่อให้มีพื้นที่พอสำหรับ:

  • 📦 โมดูลควบคุม เช่น Zigbee Relay, Sonoff Mini
  • 🔌 เดินสายไฟ Neutral (N) ที่จำเป็นสำหรับบางอุปกรณ์
  • 🧯 ระบายความร้อนและจัดเก็บสายไฟให้เรียบร้อย

หากใช้ block switch ที่ตื้นเกินไป (3-4 ซม.) อาจเจอปัญหาปิดหน้ากากไม่ได้ หรือโมดูลยัดไม่เข้า ต้องเสียเวลารื้อใหม่

ตัวอย่างการใช้ บล็อกไฟแบบตื้น ทำให้ไม่มีพื้นที่ในการทำงาน ติดตั้ง Smart Switch

🧑‍🔧 สิ่งที่ต้องแจ้งช่างล่วงหน้า

  • 📏 เลือกใช้ block ไฟฝังลึก 5-6 ซม.
  • ⚡ วางระบบไฟให้มี สาย N (Neutral) ทุกตำแหน่งที่จะติดตั้ง Smart Switch
  • 🧠 แจ้งจุดที่ต้องการเชื่อมต่อ Smart Home เพื่อวางแผนให้ครอบคลุม
ควรใช้ บล็อกไฟ แบบลึก 5cm ขึ้นไป

🔚 สรุป

หากอยากติดตั้ง Smart Switch แล้วใช้งานได้จริงในระยะยาว ต้องวางแผนตั้งแต่ การเลือก block ไฟฝังให้เหมาะสม ทั้งเรื่องความลึกและการเดินสายไฟ ช่วยให้บ้านคุณล้ำแต่ยังดูดีในสไตล์ที่คุณเลือกเองได้ ✨

เปิดรั้วบ้านอัตโนมัติแบบ Tesla Homelink รั้วไฟฟ้าอัจฉริยะ ด้วย Tuya Smart Garage Door Opener

เปิดรั้วบ้าน แบบ Tesla Homelink ทำรั้วบ้านอัจฉริยะ เปิดประตูโดยไม่ต้องใช้รีโมท สอนติดตั้ง SMART GARAGE DOOR OPENER ให้ Smart Home

เปิดรั้วบ้าน แบบ Tesla Homelink ทำรั้วบ้านอัจฉริยะ เปิดประตูโดยไม่ต้องใช้รีโมท สอนติดตั้ง SMART GARAGE DOOR OPENER

รั้วบ้านอัจฉริยะ (Smart Garage Door Opener) เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ รั้วบ้านไฟฟ้า เดิม มีความฉลาด และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น สามารถสั่งงานด้วยเสียง ผ่าน Siri Shortcut, Google Home หรือ Amazon Alexa ได้ รวมถึงยังมีระบบ Geo-fencing ที่ทำให้ประตูรั้ว เปิดอัตโนมัติ เมื่อเราเข้าใกล้ระยะบ้านที่เราต้องการ

Tesla Homelink เป็นเทคโนโลยีของรถยนต์ Tesla ที่ช่วยอำนวยความสะดวกของผู้ใช้รถยนต์ ในการเปิดประตูรั้วบ้านไฟฟ้า ให้อัตโนมัติ เมื่อผู้ขับเข้าใกล้ตัวบ้าน โดยตัวรถยนต์จะส่งสัญญาณ RF ไปที่ประตูรั้ว เสมือนการกดรีโมทด้วยตัวเอง

ในบทความนี้ เราจะพาท่านไป เรียนรู้ สอนวิธีการติดตั้งอุปกรณ์ TUYA Smart Garage Door Opener ซึ่งทำให้สามารถสั่งการด้วยเสียง หรือเปิดประตูรั้วอัตโนมัติ เหมือนรถยนต์ Tesla ได้ โดยไม่ต้องใช้รีโมท หรือจะรับชมผ่าน Clip YouTube ด้านล่างนี้ก็ได้ครับ

(บน) คลิปสอนติดตั้งรั้วบ้านอัจฉริยะ SMART GARAGE DOOR OPENER

ปัญหาของ รั้วบ้านไฟฟ้า แบบปกติ

  1. หารีโมทไม่เจอ ใช้เวลานานในการหา
  2. ต้องเดินไปกด รีโมทประตูไฟฟ้า
  3. ถ่าน รีโมทรั้วไฟฟ้า หมด ทำให้เสียเวลา เวลารีบๆ ออกจากบ้าน
  4. ต้องพกหลายตัว ไว้หลายๆ ที่ จะได้ไม่ต้องเดินไปเดินมา
รีโมท รั้วไฟฟ้า แบบเดิม ก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น หารีโมทไม่เจอ เพราะเก็บไม่เป็นที่ การทำ Smart Garage Door หรือ รั้วไฟฟ้าอัจฉริยะ จะช่วยได้

รั้วบ้านไฟฟ้าอัจฉริยะ ช่วยแก้ไขปัญหา ได้อย่างไร

  1. ไม่ต้องหารีโมทรั้วอีกต่อไป
  2. เพราะใช้วิธี สั่งงานด้วยเสียง (Voice command) ผ่าน Google Home, Amazon Alexa หรือ Siri Shortcut
  3. ใช้ไฟบ้าน หมดกังวลเรื่องแบตเตอรี่หมด
  4. มีระบบ Geo-Fencing ให้ประตูรั้วบ้าน เปิดอัตโนมัติ เมื่อเราเข้าใกล้บ้าน
รั้วบ้านอิจฉริยะ ช่วยแก้ไขปัญหา โดยการสั่งงานด้วยเสียง และการทำ Geo Fencing

อุปกรณ์มีอะไรบ้าง

    1. Tuya Smart Garage Door Opener (Wi-Fi) และอุปกรณ์ภายในกล่อง เช่น Door Sensor, สายสัญญาณ Input, ตัวควบคุม
    2. USB Adaptor
    3. ปลั๊กตัวเมีย
    4. สายไฟต่อไฟบ้าน
Unbox อุปกรณ์ภายในกล่อง Tuya Smart Garage Door Opener (Wi-Fi)

วิธีการติดตั้งส่วนงานไฟฟ้า

  1. ศึกษาระบบรั้วไฟฟ้าเดิม และแผงวงจร เพื่อหาตำแหน่งการวาง Door Sensor และการต่อสายไฟฟ้า
  2. ศึกษาแผงวงจร หาเส้นสายไฟ Input ที่ใช้ส่งสัญญาณเปิดปิด
  3. หาวิธีต่อสายไฟเลี้ยงกล่องควบคุม Tuya Smart Garage Door Opener ที่ใช้ไฟ 5V หรือหาใช้วิธีต่อไฟบ้าน และต่อ USB Adaptor เพื่อลดกำลังไฟ
  4. ดำเนินการติดตั้งตามแผนที่ตั้งไว้
  5. เชื่อมต่ออุปกรณ์กับ Application Tuya หรือ Smart Life
  6. ทดสอบการใช้งานผ่านแอพ

 

ศึกษาการทำงานของระบบ รั้วบ้านไฟฟ้าเดิม
ศึกษาการทำงานของระบบ รั้วบ้านไฟฟ้าเดิม
ศึกษาการทำงาน และกำลังไฟ ของแผงวงจรรั้วบ้านไฟฟ้าเดิม
ศึกษาการทำงาน และกำลังไฟ ของแผงวงจรรั้วบ้านไฟฟ้าเดิม

สั่งเปิดประตูรั้วไฟฟ้า ด้วยเสียง (Voice Command)

อุปกรณ์​ Tuya Smart Garage Door Opener รองรับการสั่งงานด้วยเสียง แบบ Smart Home ผ่าน Google Home, Apple Siri Shortcut และ Amazon Alexa

อุปกรณ์​ Tuya Smart Garage Door Opener รองรับการสั่งงานด้วยเสียง แบบ Smart Home ผ่าน Google Home, Apple Siri Shortcut และ Amazon Alexa

เปิดประตูรั้วอัตโนมัติเมื่อถึงบ้าน (Geo-fencing)

Geo-fencing คือ ระบบที่คอยจับพิกัดที่อยู่ ของเจ้าของ จากสัญญาณ GPS ในมือถือ และกำหนดให้เป็นการเริ่มต้นการทำงานต่างๆ ได้

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเข้ามาใกล้บ้าน ในระยะ 100 เมตร ให้เปิดประตูรั้วรอ เป็นต้น

สามารถติดตั้งได้ง่ายๆ ผ่าน App Smart Life และเข้าแทป Smart และเรื่อง When location change

Geo-fencing ให้เปิดรั้วบ้านไฟฟ้า อัตโนมัติ

Smart Home ยังทำอะไรได้อีก

การทำบ้านให้เป็นบ้านอัจฉริยะ หรือ Smart Home ยังมีอะไรสนุกๆ รออยู่อีกเยอะเลย เช่น การควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน การตั้ง Automation ในกิจวัตรประจำวัน เช่น ปิดเครื่องใ้ช้ไฟฟ้าในห้องนั่งเล่น และเปิดแอร์ในห้องนอน พร้อมกัน

ท่านสามารถเรียนรู้วิธีการทำ Smart Home ได้ง่ายๆ ที่หน้า Tutorial หรือ เข้าไปชม Youtube Playlist: SmartHomeOK ให้การอยู่บ้าน ง่ายยิ่งขึ้น ด้วย Smart Home Automation

เปลี่ยนทีวีเป็นช่อง 3 ได้ ไม่ต้องใช้รีโมท แค่สั่งงานด้วยเสียง

เปลี่ยนช่องทีวีได้ ไม่ต้องใช้รีโมท สั่งงานด้วยเสียงเลย!

เปลี่ยนช่องทีวีได้ ไม่ต้องใช้รีโมท สั่งงานด้วยเสียงเลย!

แค่พูดว่า "Alexa, Channel 3" ก็เปลี่ยนทีวีเป็นช่อง 3 ได้ทันที ง่ายสุดๆ ไม่ต้องใช้รีโมทเลย

คุณปอ

เคยมั้ย ที่หารีโมท TV ไม่เจอสักที กว่าจะหารีโมทเจอ รายการที่อยากดูก็เริ่มไปแล้ว T.T

จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถสั่งงานด้วยเสียงได้ ทีวีก็เปลี่ยนเป็นช่องที่เราต้องการได้เลย ถ้าอยากรู้วิธีทำ ก็อ่านต่อกันเลยครับ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  1. ลำโพง Amazon Alexa Echo ราคาเริ่มต้น 2090 บาท
  2. Tuya S08 Wi-Fi IR Remote ราคา 399 บาท
  3. SmartPhone ที่ลง Application Alexa และ SmartLife

วิธีการติดตั้ง

ติดตั้ง Tuya S08 ลงบน App Smart Life
1. ติดตั้ง Tuya S08 ลงบน App Smart Life
เพิ่ม TV ลงไปใน Remote แล้วทดลองใช้งานดู
2. เพิ่ม TV ลงไปใน Remote แล้วทดลองใช้งานดู
ไปที่ Tab Smart เพื่อเพิ่มคำสั่ง โดยการกดปุ่ม + มุมขวาบน
3. ไปที่ Tab Smart เพื่อเพิ่มคำสั่ง โดยการกดปุ่ม + มุมขวาบน
กด Tap-to-Run
4. กด Tap-to-Run
เลือก Run Device
5. เลือก Run Device
เลือก TV
6. เลือก TV
พิมพ์ช่องที่ต้องการกด ทีละตัว เช่น ช่อง 033 ให้กด 0 ก่อน
7. พิมพ์ช่องที่ต้องการกด ทีละตัว เช่น ช่อง 033 ให้กด 0 ก่อน
ทำจนครบเลขช่อง จากรูปคือช่อง 037
8. ทำจนครบเลขช่อง จากรูปคือช่อง 037 และตั้งชื่อ เป็นภาษาอังกฤษ​ เช่น Channel 7
กด Save แล้วทดลองกดปุ่มที่เราสร้างขึ้นมา ว่าทำงานได้ปกติหรือไม่
9. กด Save แล้วทดลองกดปุ่มที่เราสร้างขึ้นมา ว่าทำงานได้ปกติหรือไม่
ไปที่ Alexa App เข้า More ตามด้วย Routines
10. ไปที่ Alexa App เข้า More ตามด้วย Routines
เพิ่ม Routine โดยการกดปุ่ม + มุมขวาบน
11. เพิ่ม Routine โดยการกดปุ่ม + มุมขวาบน
ตั้งชื่อที่ต้องการ เลือก Alexa Says และพิมพ์คำสั่งที่ต้องการพูด เช่น Channel 3 แล้วที่ Action เลือก Smart Home, Control Scence ตามด้วย คำสั่งที่เราตั้งไว้ใน App Smart เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
12. ตั้งชื่อที่ต้องการ เลือก Alexa Says และพิมพ์คำสั่งที่ต้องการพูด เช่น Channel 3 แล้วที่ Action เลือก Smart Home, Control Scence ตามด้วย คำสั่งที่เราตั้งไว้ใน App Smart เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

สรุป

ทดลองใช้งาน โดยการสั่ง “Alexa, channel three” ตัวรีโมท จะทำการสั่ง TV โดยการกด เลข 0 3 3 ที่เราตั้งไว้ จะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

หลอดไฟอัจฉริยะ แบบสี เปรียบเทียบหลอดไฟอัจฉริยะ ยี่ห้อไหน สว่างที่สุด

หลอดไฟอัจฉริยะ แบบสี ยี่ห้อไหน สว่างที่สุด

ในการปรับปรุงบ้าน, แต่งบ้าน หลอดไฟ LED เป็นอุปกรณ์หลักตัวหนึ่ง ที่เราใช้ให้ความสว่าง และหลอดไฟอัจฉริยะ แบบสี ก็เป็นตัวเลือกที่ดี ในการทำบ้าน Smart Home ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ในการสั่งงานด้วยเสียง ผ่านระบบ Assistant ต่างๆ เช่น Amazon Alexa, Google Home หรือ Apple HomeKit และยังช่วยปรับเปลี่ยนบรรยากาศภายในห้อง ด้วยสีสันต่างๆ ของหลอดไฟ

แต่จะใช้หลอดไฟยี่ห้อไหนดีหละ ที่ทั้งคุ้มค่า สว่างเพียงพอ ?

ในบทความนี้ ผมได้ทำการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบ หลอดไฟอัจฉริยะ แบบสี (Smart LED Light Bulb Color) ว่า หลอดไฟของยี่ห้อไหน จะให้ความสว่างมากที่สุด และคุ้มค่าราคามากที่สุด

โดยในการทดลองนี้ ผมได้ประดิษฐ์ เครื่องวัดความสว่าง โดยใช้บอร์ด Arduino และ LDR Photoresistor หรือตัวต้านทานไวแสง เพื่อแปรความสว่าง ออกมาเป็นตัวเลขที่ใช้วัดค่าได้ โดยตัวเลขที่มีค่ามาก หมายถึงสว่างมาก และตัวเลขที่มีค่าน้อย หมายถึงสว่างน้อย

สอนทำ เครื่องวัดค่าความสว่าง ด้วยบอร์ด Arduino และ LDR Photoresistor
เครื่องวัดความสว่าง ด้วยบอร์ด Arduino และ LDR Photoresistor โดยค่าน้อย หมายถึงสว่างน้อย และค่ามาก หมายถึงมีความสว่างมาก

สำหรับใครที่สนใจ วิธีการประดิษฐ์เครื่องวัดความสว่างโดยใช้ บอร์ด Arduino สามารถดูได้ที่ Link นี้ (TODO)

ยี่ห้อหลอดไฟอัจฉริยะ ที่นำมาทดลอง

เปรียบเทียบ ความสว่างของหลอดไฟ 7 ยี่ห้อ
ยี่ห้อ ราคา ซื้อได้ที่
Philips Hue 1,790 บาท ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำ
Xiaomi Yeelight 1S 489 บาท Online Store
Lampton 389 บาท ไทวัสดุ, Homepro
WiZ A60 580 บาท ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำ
Tapo 399 บาท Powerbuy
HiTek 419 บาท Global House
Eve 479 บาท AIS Smart Home Section

การทดลองนี้ “ไม่มี SPONSOR” นะคร้าบบบ

สรุปผลการทดลอง

เราจะทดลองหลอดไฟแต่ละยี่ห้อ ด้วยการเปิดไฟทั้งหมด 4 แบบ ได้แก้ ไฟแสงขาว (Cool white), ไฟสีแดง, ไฟสีเขียว และไฟสีฟ้า โดยผลการทดลองเป็นดังนี้

หลอดไฟอัจฉริยะ Philips Hue

Philips Hue

หลอดไฟอัจฉริยะ Yeelight 1S

หลอดไฟอัจฉริยะ Yeelight 1S

หลอดไฟอัจฉริยะ Lampton

หลอดไฟอัจฉริยะ Lampton

หลอดไฟอัจฉริยะ WiZ A60

หลอดไฟอัจฉริยะ WiZ A60

หลอดไฟอัจฉริยะ Tapo

หลอดไฟอัจฉริยะ Tapo

หลอดไฟอัจฉริยะ Hi-Tek

หลอดไฟอัจฉริยะ Hi-Tek

หลอดไฟอัจฉริยะ Eve EV03

หลอดไฟอัจฉริยะ Eve EV03

สรุปผลแบบตาราง

ยี่ห้อ แสงขาว Red Green Blue Watts Price
Philips Hue* 49 41 20 22 10W 1,790*
Yeelight 1S 50 34 25 24 8.5W 489
Lampton 10W 58 18 16 16 10W 389
Wiz A60 56 29 22 21 9W 580
Tapo L530E 46 31 24 22 8.7W 399
HiTek 57 13 12 12 9W 419
Eve EV03 55 33 26 25 10W 479
* Philips Hue เป็นราคาที่ยังไม่รวม Philips Hue Bridge ที่ต้องใช้คู่กัน และเป็นหลอดไฟเดียว ที่มีความสามารถอื่นๆ มากที่สุด

แบบใช้งานจริง

สีขาว (Cool White)
สีขาว (Warm White)
สีแดง
สีเขียว
สีฟ้า

หมายเหตุ
* ข้อดีของ Eve คือ ใช้ App Tuya/Smart Life เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นได้ง่าย แต่เวลาเปิด, ปิด เปลี่ยนสี จะทำแบบค่อยๆ เปลี่ยน ไม่ได้ (Gradually increase/decrease)

ส่งท้าย

จากผลการทดลอง เราก็จะเห็นว่า หลอดไฟอัจฉริยะต่างๆ นั้น ให้ค่าความสว่าง ของแสงสีขาว และแสงสีอื่นๆ ไม่เท่ากัน

นอกจากนี้ ความสว่าง ยังเป็นข้อมูลเพียงชุดเดียว ในการใช้พิจารณาการตัดสินใจเลือกใช้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องคำนึงถึง เช่น ความสามารถต่างๆ ความสะดวกในการใช้งาน การดูแลรักษา และอายุการใช้งาน ดังนั้น โปรดใช้บทความนี้ เพื่อประกอบการพิจารณาเท่านั้น

หากชอบ Content ดีๆ แบบนี้ สามารถให้กำลังใจได้โดยการ Subscribe YouTube Channel PorTV ปอทีวี (https://www.youtube.com/channel/UCFW4SKhsLNZPygW3GOUBh_A)

ขอบพระคุณครับ

Echo Dot Setting up

การติดตั้ง Alexa Echo Dot และการตั้งเวลา

การติดตั้ง Alexa Echo Dot และการตั้งเวลา

เมื่อเราได้ Alexa Echo Dot มาใหม่ๆ เราจำเป็นต้องผูกเครื่อง Alexa Echo Dot เข้ากับ Account ของเรา และตั้ง Timezone ของเครื่องให้ถูกต้อง ซึ่งมีวิธีการง่ายๆ ดังนี้

วิธีการติดตั้ง สำหรับใช้งานครั้งแรก

1. เข้าสู่โหมดการติดตั้ง (Setup Mode)

โดยปกติ หลังแกะกล่อง เครื่อง Alexa Echo Dot ตัวใหม่ จะอยู่ใน Setup Mode อยู่แล้ว โดยสังเกตุได้จาก วงแหวนสีส้ม


แต่หากวงแหวนเป็นสีอื่น นอกจากสีส้ม ให้เข้าสู่โหมด Setup โดยการกดปุ่ม ลดเสียง + ปิดไมโครโฟน พร้อมกันค้างไว้ จนไฟเปลี่ยนสถานะ เป็นสีส้ม

Reset Echo Dot 2021

2. เริ่มผูกบัญชี ที่ Application

หลังจากเครื่อง Alexa Echo Dot เปลี่ยน ไฟสถานะ เป็นสีส้ม แล้ว ให้เราทำการเปิด Application Alexa เพื่อทำตามขั้นตอนดังนี้

 

* หากที่ Alexa App ไม่มีปุ่ม Device, ให้ทำการเปลี่ยนประเทศ ตามคู่มือหน้านี้ https://smarthomeok.net/faq-alexa

Download App Alexa
1. Download App Alexa
Alexa Device Tab
2. เลือก Device Tab
Alexa Add Device
3. เลือก + และ Add Device
Add Amazon Echo
4. เลือก Amazon Echo
Add Echo Dot
5. เลือก Echo, Echo Dot
Amazon Echo Dot Plug Ing
6. กด Yes
Choose new Echo
7. เลือก New Echo
Choose WiFi and Continue
8. เลือก WiFi และ Continue
Choose Room
9. เลือกห้องที่ Echo ตั้งอยู่
Choose Echo Dot
10. เลือก Echo & Alexa
Choose the new echo
11. เลือก Echo เครื่องใหม่
Change timezone to Indochina
12. เปลี่ยน Time Zone เป็น Indochina (GMT +7)

FAQ, Troubleshooting การแก้ปัญหาเบื้องต้น Alexa Echo Dot

FAQ, Troubleshooting การแก้ไขปัญหา Alexa Echo Dot เบื้องต้น

ปัญหาที่ 1: ไม่สามารถเพิ่ม Echo Device ลง App ได้

Cannot add alexa echo

ปัญหานี้ ที่พบส่วนใหญ่ จะเกิดกับผู้ใช้ iOS เป็นหลัก ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่วิธีแก้คร่าวๆ มีดังนี้

  1. ให้ Add Echo Device ผ่าน https://alexa.amazon.com/ ชั่วคราว
  2. เมื่อ Add สำเร็จแล้ว ให้ทำการ Logout และ Login ที่ Alexa App อีกครั้งหนึ่ง หน้าตา Application จะเปลี่ยนไป
หากวิธีดังกล่าวไม่ได้ผล ให้ทำการเปลี่ยน “Country / Region Setting” เป็น United States ตามวิธีการด้านล่างนี้
https://smarthomeok.net/spotify-alexa-geographical-restrictions/

ปัญหาที่ 2: ไม่สามารถใช้ Spotify บน Alexa ได้

ใครที่เจอปัญหาใช้ Spotify กับ Alexa แล้วขึ้นว่า “You are not eligible to enable this skill due to geographical restrictions.” ดังรูปประกอบ สามารถติดตามบทความนี้ เพื่อดูวิธีแก้ได้เลยครับ

https://smarthomeok.net/spotify-alexa-geographical-restrictions/

ใช้ Spotify กับ Alexa ในไทย ไม่ได้ ต้องทำอย่างไร?

ใช้ Spotify กับ Alexa ไม่ได้ ต้องทำอย่างไร?

ใครที่เจอปัญหาใช้ Spotify กับ Alexa ในประเทศไทย แล้วขึ้นว่า “You are not eligible to enable this skill due to geographical restrictions.” ดังรูปประกอบ สามารถติดตามบทความนี้ เพื่อดูวิธีแก้ได้เลยครับ

Alexa Spotify Geographic Restriction
Spotify ขึ้น Geographical Restriction ตอนติดตั้ง Skill

สาเหตุที่ขึ้น Geographical Restriction

เนื่องจากตอนนี้ Amazon ยังไม่ได้ทำการตลาดที่ประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบ จึงยังไม่รองรับการใช้งาน Skill บางตัว ที่ทำงานร่วมกับ Amazon

ดังนั้น เราสามารถแก้ Account Amazon ของเรา ให้เสมือนว่า ใช้อุปกกรณ์อยู่ที่ USA อเมริกา ซึ่งมีวิธีการไม่ยุ่งยาก สามารถทำที่มือถือได้เลย ตามนี้ครับ

วิธีการแก้ Alexa ให้เสมือนอยู่ที่ USA

ขั้นตอนที่ 1: ติดตั้ง App Amazon

ขั้นตอนแรกสุด ให้ Download Application Amazon ที่มือถือนะครับ แล้วทำการ Login ด้วย Account Amazon เดียวกันกับ ที่เรา Login Application Alexa ครับ 

 

หลังจากนั้นให้เข้าเมนู “Your Account” ครับ

Download App Amazon
เข้า Your Account

ขั้นตอนที่ 2: เลือกแก้ไขประเทศ

หลังจากเข้า Your Account แล้ว ให้เลือก “Manage Content and Devices”

แล้วเข้า Preferences > Content/Region Settings

แล้วกดปุ่ม Change ครับ

ขั้นตอนที่ 3: กรอกที่อยู่ของ USA

จะมีกล่องขึ้นมา ให้กรอกที่อยู่ของ USA ครับ

สามารถใช้ที่อยู่อะไรก็ได้ หรือใช้ตามรูปประกอบด้านล่างครับ ซึ่งเป็นที่อยู่ของ ห้องสมุดประชาชนในมหานครนิวยอร์ก ครับ

 

เมื่อกรอกเสร็จแล้ว ตรงประเทศจะเปลี่ยนเป็น “United States” ครับ

 

ขั้นตอนที่ 4: Log-out, Log-in, Kill Application Alexa

ตอนนี้ กลับมาที่ App Alexa ให้เราทำการ Logout และ Log in App Alexa

และทำการ Kill Application Alexa อีกครั้ง เพื่อเป็นการ Clear Cache 

 

ขั้นตอนสุดท้าย: เริ่มผูกบัญชี Spotify

ตอนนี้ กลับมาที่ App Alexa เราจะสามารถผูก บัญชี Spotify ได้แล้วครับ

โดยทำการเข้าหน้าเล่นเพลง แล้วเลื่อนลงมาด้านล่าง เลือก Spotify จะทำการ Enable Skill ได้แล้วครับ ตามรูปประกอบ

ให้ทำการผูกกบัญชีกับ Spotify ตามปกติ ก็สามารถใช้งานได้แล้วครับ

 

Smart Home Overview

Smart Home ทำงานอย่างไร

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความ Tutorial

หากท่านยังไม่เข้าใจว่า Smart Home คืออะไร เราขอแนะนำให้ท่านไปที่บทความ “ทำไมต้องใช้ Smart Home” ก่อนนะครับ

Smart Home ทำงานอย่างไร

การจะทำบ้านให้เป็น Smart Home ได้นั้น ก่อนอื่นเลย เรามาทำความเข้าใจ ส่วนประกอบต่างๆ ของ Smart Home Solution กันก่อนดีกว่า

 

ในที่นี้ ผมขออนุญาตแบ่งออกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน เพื่อความเข้าใจง่าย

  1. Smart Devices (IoT: Internet-of-Things): อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือตัวควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า
  2. Middle-Man / Gateway: ตัวกลางเชื่อมต่อระหว่าง Controller และอุปกรณ์
  3. Controller: Application หรือแผงควบคุม สำหรับ Control อุปกรณ์ไฟฟ้า
  4. Voice Controller: การสั่งงานด้วยเสียง แทนการควบคุมผ่าน Application

อย่าเพิ่ง งง นะครับ เดี๋ยวผมจะอธิบายแยกรายตัวให้ครับ

Smart Home Overview
Diagram อธิบายส่วนประกอบ การทำงานของ SmartHome

1. Smart Devices

Smart Devices, หรืออุปกรณ์ IOT (Internet-of-Things) ก็คือ อุปกรณ์ที่เราใช้งานนั่นแหละครับ เช่น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ หลอดไฟ เป็นต้น แต่อุปกรณ์เหล่านี้ จะเป็น Smart Devices ได้ก็ต่อเมื่อ “มันเชื่อมต่อ Wi-Fi (หรือ ZigBee)” ได้นั่นเอง

 

สาเหตุที่มันจำเป็นต้องเชื่อมต่อ Wi-Fi หรือ ZigBee ได้ ก็เพราะว่า เราอยากให้มันควบคุมผ่าน Application ได้ ซึ่ง Protocol กลาง ส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรม Smart Home ปัจจุบัน ที่เป็นมาตรฐาน ก็คือ สัญญาณ Wi-Fi และ สัญญาณ ZigBee นั่นเองครับ

 

ตัวอย่างอุปกรณ์ Smart Devices IoT

อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ยังไม่รองรับ IoT (ตามศัพท์ต่างประเทศ จะเรียก Dumb Devices) คุณก็ยังสามารถแปลงให้เป็น Smart Device ได้ โดยการคั่นด้วย Smart Plug ตัวนี้นี่เอง

Connect dumb device with smart plug

เอาหละครับ หลังจากคุณได้ตัว Smart Devices หรือ IoT: Internet-of-things กันไปเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ เริ่มหาตัวกลาง Middle-man หรือ Gateway กันครับ!

2. Middle-man หรือ Gateway

เอาละครับ ความสนุกเริ่มตรงนี้ละครับ ก็คือส่วนของ Gateway

Gateway ทำหน้าที่เป็นคนกลางเชื่อมต่อ ระหว่าง Application ที่ใช้ควบคุม กับตัวอุปกรณ์ IoT นั่นเองครับ

 

อย่างที่บอกในตอนต้นว่า Smart Devices สามารถเชื่อมต่อ ผ่านสัญญาณ WiFi และ ZigBee

ซึ่ง ในส่วนนี้ ขออนุญาตอธิบายอุปกรณ์ ZigBee ก่อน เพื่อความเข้าใจง่าย

ZigBee Gateway

zigbee logo

ZigBee เป็น Protocol การเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT แบบหนึ่ง ข้อดีของมันก็คือ ไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาณ Internet เลยครับ (แต่ยังต้องใช้สัญญาณ Wi-Fi หากต้องการสั่งผ่านมือถือ)

 

ตัวอย่างที่ชัดที่สุดในตลาดก็คือ เจ้า Philips Hue และ IKEA Tradfri ครับ

 

โดยหลักการคือ อุปกรณ์ IoT ที่เป็น ZigBee (ในที่นี่คือหลอดไฟ) จะส่งสัญญาณ ZigBee เพื่อคุยกับ Remote Controller หรือคุยกับ Gateway เพียงเท่านี้ ก็สามารถควบคุมหลอดไฟได้แล้ว โดยที่ไม่ต้องใช้สัญญาณ Wi-Fi ครับ

 

แต่หากต้องการ Best Experience จริงๆ ของตัวสินค้า เราจำเป็นต้องพึ่งสัญญาณ Wi-Fi (ไม่ต้องใช้ Internet) เพื่อเชื่อมต่อ Gateway เข้ากับ Application ของผู้ผลิตครับ ซึ่งทำหน้าที่เป็น Controller

Wi-Fi Smart Devices ไม่ต้องใช้ Gateway

แต่สำหรับอุปกรณ์ประเภท Wi-Fi จะไม่ต้องใช้ตัว Gateway เลยครับ เพราะการคุยกันระหว่าง Controller และ อุปกรณ์ IoT นั้น จะวิ่งอยู่บนสัญญาณ Internet ทำให้เราสามารสั่งการผ่าน App ได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ข้อเสียก็คือ อาจจะมี Latency ที่สูงกว่า (ระดับ milliseconds ซึ่งไม่ได้กระทบอะไร) เพราะสัญญาณจะวิ่งออกไปใน Internet แล้วค่อยกลับมาที่ห้องของเราครับ

 

ตัวอย่างอุปกรณ์ ก็เช่น Xiaomi Yeelight ตัวนี้ครับผม เราสามารถ Pair ตัวหลอดไฟ กับ App Yeelight ได้เลย โดยใช้ Wi-Fi และสัญญาณ Internet นั่นเอง

3. Controller

ในส่วนของ Controller ในยุคปัจจุบันนี้ ก็หนีไม่พ้นที่จะเป็น Application มือถือครับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ก็จะเป็น App ของผู้ผลิตสินค้า Smart Devices นั้นๆ ครับ

 

ใน Application ก็จะมีความสามารถ ต่างๆ เช่น การ Set Scence สำหรับหลอดไฟ ที่อยากให้แสดงหลอดไฟสีต่างๆ ตามอารมณ์ที่เราต้องการ หรือ การตั้งเวลาเปิดปิด ของอุปกรณ์ เป็นต้นครับ

Philips Hue Controller
ตัวอย่าง Application ของ Philips Hue เพื่อใช้ควบคุมไฟต่างๆ ปรับสี ตั้ง Scence ตั้งเวลา เป็นต้น

นอกจากนี้ Application Controller ยังเป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่าง อุปกรณ์ IoT กับ Smart Home Solution ค่ายต่างๆ อีกด้วย เช่น Amazon Alexa, Apple HomeKit หรือ Google Assistant นั่นเอง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้เราสามารถสั่งงานอุปกรณ์เหล่านี้ได้ด้วยเสียงครับ

4. Voice Controller / Smart Home Solution

ส่วนประกอบ ตัวสุดท้าย ของการทำงาน Smart Home ก็คือ ลำโพงอัจฉริยะ เพื่อการสั่งงานด้วยเสียง หรือ Voice Controller ครับ

 

ซึ่งในตลาดตอนนี้ มีผู้เล่นหลักๆ อยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 เจ้า นั่นก็คือยักษ์ใหญ่วงการ IT ทั้งสามเจ้า อันได้แก่

1. Amazon Alexa

2. Google Home / Google Assistant

3. Apple HomeKit / Home Pod

 

 

จุดเด่นสำคัญก็คือ การสั่งงานด้วยเสียง นั่นเองครับ เพราะเป็นตัวช่วยที่ทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้นได้มากจริงๆ เราสามารถสั่งเปิดไฟ เปิดแอร์ หรือบอกเจ้าลำโพง “Alexa, good night” เพื่อทำ Routine ต่างๆ (เช่น ปิดแอร์ห้องนั่งเล่น, เปิดไฟ และเครื่องปรับอากาศในห้องนอน) ไดเ้อย่างง่ายดาย

 

นอกจากนี้ แต่ละค่ายก็ยังมี Application เป็นของตัวเองอีกด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้เรา รวม อุปกรณ์ IoT จากผู้ผลิตอื่นๆ มารวมกันไว้อยู่ที่ Application แอปเดียว และทำให้เราสามารถ ตั้งค่า Automation ต่างๆ ได้อย่างง่ายๆ เลยครับ เช่น เมื่ออุณหภูมิสูงเกิน 25 องศา ให้เราเปิดพัดลม เป็นต้น

 

การเลือกค่าย ว่าจะอยู่ค่ายใด เป็นการตัดสินใจที่สำคัญ เพราะหากเราเปลี่ยนใจ ย้ายค่ายที่หลัง จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง (Switching Cost) เพราะนั่นหมายความว่า อุปกรณ์ที่เราเคยลงทุนซื้อมา อาจจะไม่ Support กับค่ายใหม่นั่นเอง

 

สำหรับใครที่กำลังลังเล หรือหาข้อมูลเปรียบเทียบ ความสามารถของค่ายต่างๆ สามารถดูบทความ “Amazon Alexa, Google Home, Apple HomeKit เลือกใครดี” ประกอบไปได้ครับ

amazon alexa application
ตัวอย่าง Amazon Alexa Application

นอกจากลำโพงจากค่ายทางฝั่ง Technology แล้ว ทาง Brand ฝั่งเครื่องเสียงเอง ก็เริ่มมีการ Integrate ความสามารถของ Alexa เข้าไปด้วยเหมือนกัน เช่น ลำโพง Marshall รุ่น Acton 2 Voice หากสนใจ สามารถ เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ Link นี้ครับ หรือคลิกดู YouTube ด้านล่างได้เลย

สรุปส่งท้าย

หวังว่า บทความนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจ การทำงานของ Smart Home และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้มากขึ้นนะครับ

หากมีข้อสงสัยใดๆ เพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่ LINE: @smarthomeok หรือ Facebook https://www.facebook.com/smarthomeok.net ได้ทุกเวลาครับ