บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความ Tutorial
หากท่านยังไม่เข้าใจว่า Smart Home คืออะไร เราขอแนะนำให้ท่านไปที่บทความ “ทำไมต้องใช้ Smart Home” ก่อนนะครับ
การจะทำบ้านให้เป็น Smart Home ได้นั้น ก่อนอื่นเลย เรามาทำความเข้าใจ ส่วนประกอบต่างๆ ของ Smart Home Solution กันก่อนดีกว่า
ในที่นี้ ผมขออนุญาตแบ่งออกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน เพื่อความเข้าใจง่าย
อย่าเพิ่ง งง นะครับ เดี๋ยวผมจะอธิบายแยกรายตัวให้ครับ
Smart Devices, หรืออุปกรณ์ IOT (Internet-of-Things) ก็คือ อุปกรณ์ที่เราใช้งานนั่นแหละครับ เช่น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ หลอดไฟ เป็นต้น แต่อุปกรณ์เหล่านี้ จะเป็น Smart Devices ได้ก็ต่อเมื่อ “มันเชื่อมต่อ Wi-Fi (หรือ ZigBee)” ได้นั่นเอง
สาเหตุที่มันจำเป็นต้องเชื่อมต่อ Wi-Fi หรือ ZigBee ได้ ก็เพราะว่า เราอยากให้มันควบคุมผ่าน Application ได้ ซึ่ง Protocol กลาง ส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรม Smart Home ปัจจุบัน ที่เป็นมาตรฐาน ก็คือ สัญญาณ Wi-Fi และ สัญญาณ ZigBee นั่นเองครับ
อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ยังไม่รองรับ IoT (ตามศัพท์ต่างประเทศ จะเรียก Dumb Devices) คุณก็ยังสามารถแปลงให้เป็น Smart Device ได้ โดยการคั่นด้วย Smart Plug ตัวนี้นี่เอง
เอาหละครับ หลังจากคุณได้ตัว Smart Devices หรือ IoT: Internet-of-things กันไปเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ เริ่มหาตัวกลาง Middle-man หรือ Gateway กันครับ!
เอาละครับ ความสนุกเริ่มตรงนี้ละครับ ก็คือส่วนของ Gateway
Gateway ทำหน้าที่เป็นคนกลางเชื่อมต่อ ระหว่าง Application ที่ใช้ควบคุม กับตัวอุปกรณ์ IoT นั่นเองครับ
อย่างที่บอกในตอนต้นว่า Smart Devices สามารถเชื่อมต่อ ผ่านสัญญาณ WiFi และ ZigBee
ซึ่ง ในส่วนนี้ ขออนุญาตอธิบายอุปกรณ์ ZigBee ก่อน เพื่อความเข้าใจง่าย
ZigBee เป็น Protocol การเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT แบบหนึ่ง ข้อดีของมันก็คือ ไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาณ Internet เลยครับ (แต่ยังต้องใช้สัญญาณ Wi-Fi หากต้องการสั่งผ่านมือถือ)
ตัวอย่างที่ชัดที่สุดในตลาดก็คือ เจ้า Philips Hue และ IKEA Tradfri ครับ
โดยหลักการคือ อุปกรณ์ IoT ที่เป็น ZigBee (ในที่นี่คือหลอดไฟ) จะส่งสัญญาณ ZigBee เพื่อคุยกับ Remote Controller หรือคุยกับ Gateway เพียงเท่านี้ ก็สามารถควบคุมหลอดไฟได้แล้ว โดยที่ไม่ต้องใช้สัญญาณ Wi-Fi ครับ
แต่หากต้องการ Best Experience จริงๆ ของตัวสินค้า เราจำเป็นต้องพึ่งสัญญาณ Wi-Fi (ไม่ต้องใช้ Internet) เพื่อเชื่อมต่อ Gateway เข้ากับ Application ของผู้ผลิตครับ ซึ่งทำหน้าที่เป็น Controller
แต่สำหรับอุปกรณ์ประเภท Wi-Fi จะไม่ต้องใช้ตัว Gateway เลยครับ เพราะการคุยกันระหว่าง Controller และ อุปกรณ์ IoT นั้น จะวิ่งอยู่บนสัญญาณ Internet ทำให้เราสามารสั่งการผ่าน App ได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ข้อเสียก็คือ อาจจะมี Latency ที่สูงกว่า (ระดับ milliseconds ซึ่งไม่ได้กระทบอะไร) เพราะสัญญาณจะวิ่งออกไปใน Internet แล้วค่อยกลับมาที่ห้องของเราครับ
ตัวอย่างอุปกรณ์ ก็เช่น Xiaomi Yeelight ตัวนี้ครับผม เราสามารถ Pair ตัวหลอดไฟ กับ App Yeelight ได้เลย โดยใช้ Wi-Fi และสัญญาณ Internet นั่นเอง
ในส่วนของ Controller ในยุคปัจจุบันนี้ ก็หนีไม่พ้นที่จะเป็น Application มือถือครับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ก็จะเป็น App ของผู้ผลิตสินค้า Smart Devices นั้นๆ ครับ
ใน Application ก็จะมีความสามารถ ต่างๆ เช่น การ Set Scence สำหรับหลอดไฟ ที่อยากให้แสดงหลอดไฟสีต่างๆ ตามอารมณ์ที่เราต้องการ หรือ การตั้งเวลาเปิดปิด ของอุปกรณ์ เป็นต้นครับ
นอกจากนี้ Application Controller ยังเป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่าง อุปกรณ์ IoT กับ Smart Home Solution ค่ายต่างๆ อีกด้วย เช่น Amazon Alexa, Apple HomeKit หรือ Google Assistant นั่นเอง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้เราสามารถสั่งงานอุปกรณ์เหล่านี้ได้ด้วยเสียงครับ
ส่วนประกอบ ตัวสุดท้าย ของการทำงาน Smart Home ก็คือ ลำโพงอัจฉริยะ เพื่อการสั่งงานด้วยเสียง หรือ Voice Controller ครับ
ซึ่งในตลาดตอนนี้ มีผู้เล่นหลักๆ อยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 เจ้า นั่นก็คือยักษ์ใหญ่วงการ IT ทั้งสามเจ้า อันได้แก่
1. Amazon Alexa
2. Google Home / Google Assistant
3. Apple HomeKit / Home Pod
จุดเด่นสำคัญก็คือ การสั่งงานด้วยเสียง นั่นเองครับ เพราะเป็นตัวช่วยที่ทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้นได้มากจริงๆ เราสามารถสั่งเปิดไฟ เปิดแอร์ หรือบอกเจ้าลำโพง “Alexa, good night” เพื่อทำ Routine ต่างๆ (เช่น ปิดแอร์ห้องนั่งเล่น, เปิดไฟ และเครื่องปรับอากาศในห้องนอน) ไดเ้อย่างง่ายดาย
นอกจากนี้ แต่ละค่ายก็ยังมี Application เป็นของตัวเองอีกด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้เรา รวม อุปกรณ์ IoT จากผู้ผลิตอื่นๆ มารวมกันไว้อยู่ที่ Application แอปเดียว และทำให้เราสามารถ ตั้งค่า Automation ต่างๆ ได้อย่างง่ายๆ เลยครับ เช่น เมื่ออุณหภูมิสูงเกิน 25 องศา ให้เราเปิดพัดลม เป็นต้น
การเลือกค่าย ว่าจะอยู่ค่ายใด เป็นการตัดสินใจที่สำคัญ เพราะหากเราเปลี่ยนใจ ย้ายค่ายที่หลัง จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง (Switching Cost) เพราะนั่นหมายความว่า อุปกรณ์ที่เราเคยลงทุนซื้อมา อาจจะไม่ Support กับค่ายใหม่นั่นเอง
สำหรับใครที่กำลังลังเล หรือหาข้อมูลเปรียบเทียบ ความสามารถของค่ายต่างๆ สามารถดูบทความ “Amazon Alexa, Google Home, Apple HomeKit เลือกใครดี” ประกอบไปได้ครับ
นอกจากลำโพงจากค่ายทางฝั่ง Technology แล้ว ทาง Brand ฝั่งเครื่องเสียงเอง ก็เริ่มมีการ Integrate ความสามารถของ Alexa เข้าไปด้วยเหมือนกัน เช่น ลำโพง Marshall รุ่น Acton 2 Voice หากสนใจ สามารถ เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ Link นี้ครับ หรือคลิกดู YouTube ด้านล่างได้เลย
หวังว่า บทความนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจ การทำงานของ Smart Home และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้มากขึ้นนะครับ
หากมีข้อสงสัยใดๆ เพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่ LINE: @smarthomeok หรือ Facebook https://www.facebook.com/smarthomeok.net ได้ทุกเวลาครับ
Copyright © 2020 SmartHomeOK.net. All Rights Reserved.